โดรนเพื่อการทำเกษตร กับอนาคตที่ใกล้แค่เอื้อม
บทความวันนี้ผมจะพูดถึงเรื่องของเทรนเกษตรที่จะมาถึงบ้านเราในอนาคตอันใกล้นี้ครับ เพราะในการทำเกษตรทุกวันนี้ เกษตรกรสมัยใหม่ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย เรื่องของเทคโนโลยีต่าง ๆ จะมีส่วนช่วยให้การทำเกษตรง่ายขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันต่าง ๆ ระบบแจ้งเตือนสภาพอากาศ เครื่องมือวัดความชื้นในดิน เพื่อคำนวณหาธาตุอาหารทำจำเป็นต่อพืชในแปลงนั้น ๆ เหล่านี้คือเทคโนโลยีที่จะมาอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกร ถ้าเรายังไม่ปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี เมื่อวันนั้นมาถึง มันจะบังคับให้เราปรับตัวเราเองครับ เริ่มเรียนรู้และหาช่องทางตั้งแต่วันนี้ การทำเกษตรควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี ผมว่ามันเป็นเรื่องที่น่าสนุกมาก ขอเพียงเราเปิดใจครับ
จากวงการทหาร ปฏิวัติสู่วงการเกษตร
พูดถึงเรื่องโดรน มันก็คืออากาศยานไร้คนขับ แต่กก่อนมีรูปร่างคล้ายกับเครื่องบินครับ แต่ไม่มีคนขับ ทุกวันนี้ก็มีหน้าตาอย่างที่เห็น มีขนาดเล็ก สามารถขึ้น-ลงในแนวตั้งได้ ในยุคแรกโดรนถูกใช้ในทางทหาร และเป็นเครื่องมือสอดแนมข้าศึกโดยการติดกล้อง หรืออาจใช้เป็นอุปกรณ์ลอบสังหารเลยด้วยซ้ำ ภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ที่ต้องการภาพมุมสูงก็ใช้โดรนติดกล้องเพื่อถ่ายทำ
และในปัจจุบันโดรนก็ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่นการส่งสินค้าในเมืองเดียวกันเป็นต้น ซึ่งในอเมริกา Amazon เว็บขายสินค้าเริ่มให้บริการส่งสินค้าแบบนี้แล้ว แต่นอกเหนือที่กล่าวมา โดรนเริ่มถูกนำมาใช้ในวงการเกษตรแล้วครับ ถ้าท่านติดตามข่าวสาร จะเห็นได้ว่ามีการทำออกมาขาย และใช้งานกันอย่างแพร่หลายแล้วในต่างประเทศ
โดรนกับการเกษตร
มีการทำนายอนาคตของโดรนกับการเกษตร จากผู้เชี่ยวชาญ คือ ศาสตราจารย์ เควิน ไฟร์ซ แห่งมหาวิทยาลัย รัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกา ทำนายว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ยอดขายในอุตสาหกรรมของโดรน 80% จะมาจากการเกษตร ฟังแล้วเหมือนเหลือเชื่อครับ แต่ผมว่ามันมาแน่ คล้าย ๆ กับการบอกคนในสมัยที่ยังใช้ควายไถนาอยู่ว่า อีก 10 ปีข้างหน้า การเกษตรไทยจะเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรกลทั้งหมด ถ้าเราอยู่ในสมัยนั้นเคยเห็นและเคยชินกับการใช้ควายไถนา ก็ยากที่่จะเชื่อได้ครับ แต่กรณีนี้คล้ายกันกับโดรนและเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งจะมามีบทบาทกับการทำเกษตรแน่นอนครับ
ภาพด้านล่าง สังเกตภาพถ่ายจากโดรน โดยการแยกพื้นที่ออกเป็นสีต่าง ๆ แสดงการเจริญเติบโตของพืชที่แตกต่างกัน
และในต่างประเทศก็มีการใช้โดรนเริ่มทำการเกษตรบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการพ่นยา หว่านเมล็ดพันธ์ หว่านปุ๋ย การตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกเพื่อวิเคราห์หาการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละจุด การถ่ายภาพทางอากาศโดยใช้ระบบ GPS ในการหาพิกัดต่าง ๆ ออกมา แล้วนำค่าต่าง ๆ มาวิเคราะห์เพื่อรายงานหรือรอรับคำสั่งจากเราต่อไปครับ โดยโดรนจะมี 1 ใบพัด 4 ใบพัด หรือ 8 ใบพัด ก็แล้วแต่ผู้ผลิตแต่ละเจ้านะครับ แต่ละตัวจะมีถังเพื่อบรรจุน้ำ และสายยางต่อลงไปเพื่อพ่นเป็นละอองน้ำใส่ตัวพืช มีกล้องติดเพื่อถ่ายภาพทางอากาศ มีเซนเซอร์เพื่อวัดความชื้นของอากาศ มีระบบล็อกความสูง ระบบกันหลงทางที่สามารถโปรแกรมให้บินกลับมาตำแหน่งเดิมได้ครับ การควบคุมมีทั้งควบคุมด้วยมือ หรือโปรแกรมให้โดรนทำงานอัตโนมัติก็สามารถทำได้เช่นกันครับ
ซึ่งต่อไปการทำเกษตรในพื้นที่ขนาดใหญ่จะเกิดการขาดแคลนแรงงานคน เราก็จะได้โดรนนี้แหละครับเข้ามาช่วยในการทำงานต่าง ๆ อย่างที่บอกครับ มันทำให้เกษตรกรทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น และเห็นภาพรวมภายในแปลงเพาะปลูกของตนเอง ประหยัดเวลา แรงงาน ทำงานได้เยอะ โดรนตัวหนึ่ง ๆ สามารถทำงานได้ถึง 10-20 ไร่ต่อชั่วโมงเลยทีเดียว แล้วใน 1 วันล่ะ จะได้มากขนาดไหน ซึ่งในอนาคตโดรนน่าจะมีราคาที่ถูกลงมากกว่านี้ เพราะมีการแข่งขันกันหลายบริษัท ผลดีก็ตกมาสู่ตัวเกษตรที่จะได้ใช้ของดี มีคุณภาพ และราคาย่อมเยาว์ครับ อย่างในไทยเอง บริษัท ยามาฮ่า ก็ได้ร่วมมือกับ ม.เกษตร ทำ MOU พัฒนาและวิจัยโดรนเพื่อชาวไร่ในไทย กับโปรเจค Yamaha RMAX เพื่อใช้หว่านปุ๋ย หว่านเมล็ด และพ่นยา เพื่อยกระดับการเกษตรไทยต่อไปครับ
สิ่งเหล่านี้บางท่านอาจจะแย้งว่าการพ่นยาฆ่าแมลง หรือหว่านปุ๋ยเคมีมันก็ไม่ต่างจากที่เกษตรกรต้องมาสัมผัสกับสารเคมีเหมือนเดิม แต่ผมไม่ได้หมายถึงสิ่งเหล่านั้นครับ สำหรับผม สารกำจัดแมลงคือน้ำหมักสมุนไพรที่นำไปผสมกับน้ำเพื่อฉีดพ่นครับ ปุ๋ยก็หมายถึงปุ๋ยคอกหมักที่เราหมักเองครับ ปลอดภัยทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค จึงเป็นแนวทางที่ผมอยากนำเสนอ และขึ้นอยู่กับวิธีการที่เรานำมาใช้ด้วยครับ
ตัวอย่างบางส่วนสำหรับการใช้โดรนในการเกษตร
ผลงานจากบริษัทสัญชาติจีน DJI ได้เปิดตัวโดรนรุ่น Agras MG-1 เป็นโดรนสำหรับใช้ในการเกษตรโดยเฉพาะ ซึ่งเปิดตัวในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา โดยเจ้าตัวนี้ทำจากวัสดุที่ป้องกันการกัดกร่อน แบกน้ำหนักได้ถึง 10 กิโลกรัม ตัวนี้สามารถทำงานได้ถึง 10 ไร่ต่อชั่วโมงเลยทีเดียว บินได้ด้วยความเร็วสูงสุด 8 เมตรต่อวินาที หรือช้ากว่านั้นแล้วแต่ผู้ใช้จะตั้ง สามารถปรับระดับความสูงระหว่างตัวมันเองและต้นพืชอัตโนมัติ และมีการปรับระดับหัวฉีดการพ่นแบบเบา-แรง ให้สอดคล้องกันกับความสูง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการพ่นจะไปถึงต้นพืชทุกต้นแน่นอน ทั้งยังปรับการควบคุมเป็นแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติได้ด้วย ที่สำคัญมีระบบความจำอัฉริยะสามารถบินกลับมาเติมสารเมื่อน้ำยาหมด และกลับไปเริ่มพ่นยายังตำแหน่งเดิมที่กลับมา และผู้ใช้ยังสามารถดูหน้าจอแสดงผลแบบ Real-time จากกล้องที่ติดอยู่กับตัวมันได้อีกด้วย
วีดีโอแนะนำ DJI Agras MG-1
รายละเอียดของโดรนรุ่น Agras MG-1 : www.dji.com
อีกหนึ่งตัวอย่างของ Yamaha ที่ร่วมมือกับ ม.เกษตร วิจัยโดรนเพื่อชาวไร่ ชื่อของมันคือ
” YAMAHA RMAX “
ตัวนี้เริ่มมีการใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา และในปี 2557 มีการใช้งานทั่วโลกมากถึง 2,600 ตัวแล้ว ในไทยผมว่าน่าจะเป็นการนำเข้ามา เพื่อศึกษาระบบพื้นที่เกษตรของไทย ให้สามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกันอย่างเต็มที่ และตัวมันเองสามารถทำงานตามที่เราควบคุมได้อย่างแม่นยำ มีกระปุกสำหรับเติมน้ำยา เมื่อถังเดิมหมดก็สามารถกลับมาเปลี่ยนกระปุกใหม่แล้วทำงานต่อได้เลย มีไฟแจ้งเตือนสถานะ มีระบบ GPS ประสิทธิภาพสูง มีล้อสำหรับการขึ้นลง การฉีดพ่นมีความแม่นยำ เครื่องยนต์เป็นแบบ 2 จังหวะ 246 ซีซี สามารถทำความเร็วได้คงที่ บินโฉบ และเบรกได้อย่างแม่นยำ มีระบบตัดสัญญาณรบกวน อีกทั้งยังมีกล้องในตัวอีกด้วย
วีดีโอแนะนำ Yamaha RMAX
สาธิตการใช้งานจริงครับ
https://www.youtube.com/watch?v=N6efIZ3aZco
จะเห็นได้ว่า เจ้าตัวของ Yamaha RMAX ที่ในต่างประเทศนั้น ได้มีการใช้มาเป็นระยะเวลาค่อนข้างนานแล้ว ผมว่าอีกไม่นาน เทคโนโลยีเหล่านี้จะมามีบทบาทกับการทำเกษตรของไทยในอนาคตแน่นอนครับ ต่อไปเวลาเราไปทำนาทำไร่ เราอาจจะต้องไปแบบภาพด้านล่างนี้ก็ได้ครับ ผมว่ามันน่าสนุกดีนะครับ ว่าไหม……….
นี่ก็เป็นเทรนเกษตรที่กำลังจะมาถึง
แล้วคุณล่ะ พร้อมรึยัง
ขอบคุณที่มาของคลิป : www.youtube.com
ไร้สาระ…ตราบใดที่มนุษย์เรายังมีโฮร์โมนอยู่…และยังควบคุมโฮร์โมนไม่ได้..มนุษย์จะเอามันมาใช้ในการทำลายล้างกันเอง….สอนมนุษย์ให้รู้จักการควบคุมโฮร์โมนให้ได้ก่อน..โฮร์โมนก็เหมือนเครื่องรับวิทยุที่สนองความอยากไปพัฒนาการณการกระทำเกิดความฉลาดไร้กัดจำกัด
ในอนาคตเราจะได้เห็นฝูงโดรนถล่มโลกสร้างความวุ่นวายต่อสังคมแบบอินเทอเนต เฟตบุ๊คฯลฯ…เพราะมันเกิดจากการลงทุนของอำนาจเงิน
ผมขออนุญาตินำบทความนี้ ไปใช้ในชิ้นงาน การศึกษานะครับ